Thai  Eng 
Home | About us | Contact Us

Lighting Protection Fire Alarm System Grounding System
     

การทดสอบและการตรวจสอบ ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า

 
1. จุดมุ่งหมาย ( Objective)
ใช้เป็นมาตรฐานในการปฎิบัต ิงานการทดสอบและการตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า การนำมาใช้งานให้มีความเข้าใจตรงกันรวมถึงการตรวจสอบหาข้อมูลย้อนกลับในขบวน การทดสอบและการตรวจสอบระบบฯ ให้ระบบทำงานได้ตามปกติ
 
2. ขอบเขต (Scope)
คู่ มือดำเนินงานฉบับนี้ได้ครอบคลุมถึงการทดสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบและตรวจ สอบการติดตั้งของระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าให้ถูกต้องตามรูปแบบมาตรฐานที่ กำหนด
 
3.คำจำกัดความ (Definition)
ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า เป็นระยะที่ติดตั้งเพื่อลดอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่ามายังพื้นที่หรือ ตัวอาคาร ที่ต้อง การป้องกัน ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ 5 ส่วนคือ 1. หัวล่อฟ้า 2. เสา 3. สายนำลงดิน 4. ระบบดิน 5. อุปกรณ์นับฟ้าผ่า
   
  3.1 หัวล่อฟ้า เป็นแท่งโลหะทำหน้าที่รับฟ้าผ่า มีจุดวงจรสะสมพลังงานและปล่อยพลังงานออกเมื่อ เกิดฟ้าผ่า
  3.2 เสา เป็นท่อโลหะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว มีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ติดตั้งตาม ลักษณะการ ออกแบบ
  3.3 สายนำลงดิน ทำหน้าที่กระจายกระแสฟ้าผ่าลงสู่ดิน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือสายทองแดงเปลือย ขนาด95 ตา รางมิลลิเมตร
  3.4 ระบบดิน ทำหน้าที่กระจายกระแสฟ้าผ่าสู่พื้นดินโดยเร็วที่สุดประกอบด้วยแท่งทองแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 5/8 นิ้ว ยาว 10 ฟุต 3 แท่ง ปักเชื่อมกันลึกลงไปในดินอย่างน้อย 50 ซม.
  3.5 อุปกรณ์นับฟ้าผ่า เป็นอุปกรณ์ใช้ตรวจนับจำนวนครั้งที่เกิดฟ้าผ่า โดยมีตัวเลขบอกจำนวนและไม่สามารถ Reset ได้
 
4. การดำเนินการทดสอบระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Lightning Protection System Testing Procedure )
  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน
- เครื่องวัด Earth Tester
- คู่มือการใช้งานเครื่องวัด

การทดสอบระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสามารถดำเนินการแยกได้ตามประเภทของอุปกรณ์ ดังนี
  4.1 หัวล่อฟ้า (Air Terminal)
- ตามคู่มือการใช้งานเครื่องวัดของแต่ละอุปกรณ์
- ตรวจสอบด้วยสายตา – ตรวจสอบลักษณะทั่วไปของสภาพหัวล่อฟ้าและปลายแหลม
 
4.2 เสา (Mast)
- ทดสอบความแข็งแรงการติดตั้งเสาโดยการโยกเสาจะต้องยึดอย่างแข็งแรงไม่สามารถโยกได้
- ตรวจสอบด้วยสายตา ตรวจสอบลักษณะทั่วไปของเสา การสึกกร่อน
 
4.3 สายนำลงดิน (Down Conductor)
- ตรวจสอบด้วยสายตา ตรวจสอบลักษณะทั่วไปของการยึดสายนำลงดิน
 
4.4 ระบบดิน (Ground Rod)
เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบคือ Earth Tester จะมีด้วยกันหลายรุ่นขึ้นอยู่กับค่ามาตรฐานที่ 10 เและ 15 เมตร ดังมีวิธีการใช้งานดังนี้
- เลื่อนสวิทช์มาในช่วงที่วัดค่าโอห์ม
- นำสายทองแดงจากปุ่ม E มาเข้าที่แท่งทองแดงแท่งแรกที่มาจาก Terminal Box โดยถอดสายจาก Terminal Box ก่อน แต่ในกรณีที่กลบดินแล้วให้จับที่ Terminal Box ได้เลย
- นำสายทองแดงจากปุ่ม P ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ 10 เมตร ลากยาวเป็นเส้นตรงแล้วไปปักฃงดิน โดยใช้แท่งสเตนเลสปักลึกลง 30 ซม.
- นำสายทองแดงจากปุ่ม C ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ 15 เมตร ลากยาวเป็นเส้นตรงแล้วไปปักลงดิน โดยใช้แท่งสเตนเลสปักลึกลง 30 ซม.โดยห่างจากจุดแรกประมาณ 5 เมตร แต่จะปักในแนวเดียวกัน
- กดปุ่ม Push On เมื่อมีการวัดค่าความต้านทานทุกครั้ง โดยปรับหมุนจนกว่ามิเตอร จะหยุดลงเลข 0 แล้วอ่านค่าที่วัดได้ ค่าความต้านทานที่ได้มาตรฐานควรมีค่าต่ำกว่า 5 โอห์ม
 

4.5 อุปกรณ์นับฟ้าผ่า (Lightning Flash Counter)
ตรวจสอบด้วยสายตา
- ตรวจสอบลักษณะทั่วไปของสภาพอุปกรณ์นับฟ้าผ่า และจดนับจำนวนที่ปรากฏ
บนอุปกรณ์

5. การดำเนินการตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Lightning Protection System Inspection Procedure)
  เครื่องมือในการดำเนินงาน
- กล้องส่องทางไกล
การตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ทำการตรวจสอบลักษณะทั่วไปของอุปกรณ์ที่ติดตั้งโดยใช้กล้องส่องทางไกล และ ตรวจสอบด้วยสายตา ตามประเภทอุปกรณ์ดังนี้
  5.1 หัวล่อฟ้า
5.2 เสา
5.3 ชนิดสายนำลงดิน
5.4 ระบบดิน
5.5 อุปกรณ์ตรวจนับฟ้าผ่า

6. ระยะเวลาในการตรวจสอบ (Inspection Period)

การตรวจสอบและดูแลรักษาระบบ ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ควรมีการดูแลทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยมีวิธีการตรวจ สอบและดูแลรักษาตามรายการที่แจ้ง
 
7. สิ่งที่แนบมาด้วย (Attachment)
รายงานผลการตรวจสอบ “ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า”

 

Home | Company Profile | Products | Maintenance | Photo Gallery | Test Radio Active | Cleaning Service | Contact Us
Copyrights 2011 All rights reserved sinecostan co.,ltd. Khwanchai Rattanaphoca (Managing Director)
Website : http://www.sinecostan.co.th e-mail : boy@sinecostan.co.th Tel : 081-616-3231
projected by hypermance.com